วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name)
หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
โดเมนเนม ( Domain Name) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจเจ้าโดเมนเนมที่แท้จริง เราจะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อนเริ่มตั้งแต่คำว่า WWW หรือ World Wide Web หรือ Web หรือ W3 ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใครๆเข้ามาสึกษาค้นหาข้อมูลหรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด WWW ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วๆ ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นประมาณ Electronic Library หรือ e-library นั่นเอง และที่สำคัญคือ ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว ดังนั้นถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่นๆ ให้อีกหาอยู่ที่ e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ
ฉะนั้น โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมา
อินเทอร์เน็ต (Internat ) เริ่มต้นมาจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษาและระบบเครือข่ายที่รู้จักกันดีในนามของโครงการ “ARPANET” ซึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานตรงนี้ก็คือ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocol) โดยใช้ระบบปฏิบัติการ IUNIX ซึ่งช่วยให้การเชื่อมโยงสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก
ในระยะแรก การใช้งานในอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก เพราะเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีไม่มาก แต่ต่อมาเมื่อมีคนสนใจและมีเครือข่ายการใช้งานที่กว้างมากขึ้น ก็เลยทำให้เกิดความต้องการในการใช้ชื่อที่ง่ายและไม่ซับซ้อน จำง่าย แทนที่จะใช้ในลักษณะของ IP Address ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ใช้อยู่ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของ “Name Server” ขึ้นมาครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้จัก และนี่ก็คือต้นกำเนิดของการใช้โดเมนเนมในปัจจุบันและหลังจากนั้นไม่นาน Domain Name System (DNS) ชุดแรกที่ถูกนำออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ โดยเราสามารถแยกความแตกต่างของโดเมนเนมได้จากตัวอักษรที่ต่อจากชื่อ เช่น www. « « « .com หรือ www. « « « .net หรือ www. « « « .org ระยะแรกนี้การจดโดเมนเนมจะทำได้โดยไม่ต้องเสียเงิน โดยมี IANA เป็นผู้ดูแล แต่ระยะหลังเมื่อทาง IANA และ NSF (National Science Foundation) ได้ร่วมกันจัดตั้ง InterNIC ขึ้นมา เริ่มมีการคิดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนตามมา 100 USD ใน 2 ปีแรกของระยะแรกและลดลงมาเป็น 70 USD โดยมี ICANN หรือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา จากความร่วมมือของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหลายในการเป็นผู้คอยดูแลและจัดการเรื่องเกี่ยวกับโดเมนเนม การจัดการเรื่องของ IP Address การดูแลโปรโตรคอลและรวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับ Server System ด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ยุคแรกๆ ของโดเมนเนมน้นมีการกำหนดสกุลไม่มากนัก ต่อมาปัจจุบัน หลังจาที่มีการยึดครองโดเมนเนมหลักๆ ไปเป็นของ Internic.net อย่างเดียวแล้ว ก็เกิดการฟ้องร้องกันระหว่างรัฐกับบริษัท Netword Solution จำกัด ว่าใครจะได้เป็นเจ้าของโดเมนเนม ซึ่งผลได้ประกาศออกมากลางเดือนมีนาคม 2542 ว่า “ ให้บริษัทใดก็ได้สามารถบริหารชื่อเป็นของตัวเองได้”
ดังนั้นจึงทำให้เกิดโดเมนเนมใหม่ๆ ขึ้นมาหลังจากนั้นอีกมากมาย เช่น . shop ฯลฯ เป็นต้น และนอกจากนี้มีการจดทะเบียนโดเมนเนมไว้ทั้งหมดทั่วโลก ประมาณ 19 ล้าน ชื่อในอินเทอร์เน็ต หรือประมาณ 40,000 ชื่อในแต่ละวัน ทางบริษัท Netword Solution จำกัด ได้เปลี่ยนโฮมเพจของตัวเองไปที่โดเมนใหม่คือ http://www.networdsolution.com ด้วย
สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้มีการจดโดเมนเนมไปยังองค์กรจดโดเมนโลกให้ .th ( Thailand) เป็นของประเทศไทย โดยมีการนำเงินไปวางเป็นมัดจำจำนวนหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกให้ศูนย์คอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์เป็นผู้ดูแล ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ AIT หรือ Asian of Institute Technology เป็นผู้เข้ามาดูแลแทน
สรุปได้ว่า ในปัจจุบันในประเทศของเราได้จดทะเบียนกับสถาบันเอไอทีเริ่มเป็นผู้จดทะเบียนโดเมนเนม ( domain name) “.th” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและรับหน้าที่ในการดูแลการจดทะเบียนโดเมนเนมสัญชาติไทยตลอดมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ภายใต้ชื่อหน่วยงานว่า “ ไทยนิก” หรือทีเอชนิก (THNIC)
ในการจดโดเมนเนมสกุล .co.th นั้น มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเรื่องของสิทธิ์โดยที่ผู้ขอจดนั้นต้องมีเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทจากกระทรวงพานิชย์ (ภพ.20) มายื่นขอด้วย
แต่ในปัจจุบันเงื่อนไขดังกล่าวของการจดโดเมนเนม . co.th ถูกยกเลิกไป เมื่อมีการเริ่มคิดค่าใช้จ่ายสำหรับการขอจดโดเมนเนมใหม่สัญชาติไทย ชื่อละ 1,500 บาท ต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และคิดอัตราการต่ออายุโดเมนเนมประมาณ 800 บาทต่อปี
2. จงยกตัวอย่างส่วนขยายท้ายสุดของโดเมนเนม (เช่น .com, .ac.th, .net) มาอย่างน้อย 10 ชนิด และบอกความหมายของส่วนขยายของโดเมนเนมเหล่าันั้น ว่าเป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องอะไร
.com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร
.net ย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย
.org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.us ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
.co.th ย่อมาจาก commercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
.ac.th ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.or.th ย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.in.th ย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
.net.th ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง หน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ใน ประเทศไทย
3. วิธีจดโดเมนเนม "ด้วยตัวเอง" ต้องทำอย่างไร?
กรณีที่1 ต้องการจดโดเมนเนมเอง และเช่าพื้นที่ผู้ให้บริการเปิดเวปไซท์ ก่อนอื่นสอบถามผู้ให้บริการก่อนว่า NS ของผู้ให้บริการเป็นอย่างไร เพราะเราจะนำข้อมูลนี้มาจดโดเมน จากนั้นท่านก็เดินทางไปตามเส้นทาง หมายเลข 1 เพื่อไปจดโดเมนเนมกับผู้รับจดโดเมน เมื่อท่านจดทะเบียนเรียบร้อยท่านก็ติดต่อผู้ให้บริการ ทางผู้ให้บริการจะจัดการเรื่องอื่นๆคือ NS และ Web Server ให้ท่าน หลังจากท่านจดทะเบียนและแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบ ถ้าผู้ให้บริการไม่ชักช้าก็จะเปิดเวปไซท์ได้ภายในเวลาประมาณ 2 วัน
กรณีที่2 ต้องการจดโดเมนเนมเอง และจัดการ Name Server เอง ท่านก็จะต้อง จดทะเบียนโดเมนเนมเอง และเช่า Name Server ต่างหาก ซึ่งการจัดการ Name Server เป็นเรื่องที่ยุ่งนิดหน่อย แต่ท่านก็สามารถใช้โดเมนท่าน ชี้ไปที่ไหนก็ได้ ขั้นตอนการจัดการ Name Server จะไม่ขอกล่าวเพราะรายละเอียดเยอะ ส่วนพื้นที่เปิดเวปไซท์ก็จะต้องติดต่อผู้ให้บริการต่อไป
กรณีที่3 การจดโดเมน แต่ไม่เปิดเวปไซท์ เป็นการจองโดเมนไว้ก่อนทำให้คนอื่นจดไม่ได้ และฝากไว้กับผู้ให้บริการ เรียกว่า Domain Parking ท่านจะจดเองหรือเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการให้จดแทนท่านก็ได้
4. หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ โดเมนเนม
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
5.5. จงออกข้อสอบเกี่ยวกับเรื่อง "โดเมนเนม" มาอย่างน้อยคนละ 5 ข้อ พร้อมเฉลยคำตอบ (อธิบายด้วยนะครับ ตอนเฉลยอ่ะ ว่าทำไมถึงต้องตอบข้อนี้)
1.โดเมนเนมหมายถึงอะไร
2.จงบอกวิธีการจดโดเมนเนม มีกี่วิธี อะไรบ้าง
3. www.phaya_banthum.com เป็นการตั้งชื่อที่ถูกหรือไม่ อย่างไร
4.จงอธิบายความหมายของ .net ซึ่งเป็นสัญญาลักในการบอกประเภทของเว๋ปไซต์
5.จงบอกหลักการในการตั้งชื่อโดเมนเนม